วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศออสเตรเลีย


ออสเตรเลียมีชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า"เครือรัฐออสเตรเลีย"(CommonwealthAustralia)ออสเตรเลียเคยเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนปัจจุบันออสเตรเลียเป็นประเทศในจักรภพที่ตั้งประเทศอยู่บนเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกและในขณะเดียวกันออสเตรเลียก็เป็นทวีปทีเล็กที่สุดในโลกด้วยออสเตรเลียเป็นประเทศ"ใหม่"แม้จะมีประวัติความเป็นมาในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่ไม่ยาวนานไม่มีร่องรอยอารยะธรรมโบราณที่เป็นรากเหง้าของอารยะธรรมโลกแต่ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ของตนเองมีธรรมชาติสวยงามหลากหลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าไปเยือนมีเสน่ห์อย่างยิ่งด้วยความมีน้ำใจและความเป็นกันเองของออสเตรเลียกับความสวยบริสุทธิ์ของธรรมชาติ

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศ

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports)และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความ
แตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศ
จะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น

การตลาดระหว่างประเทศ  

          
Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ

          
Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ
       
          
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
       
          
Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ


          
Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก
          
Gross National Product –GNP- คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ

          คือ มูลค่าของสินค้า และ บริการ ขั้นสุดท้ายอันเกิดจาก การดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือ ธุรกิจ ประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ มูลค่า จากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ

          GNP สามารถคิดได้อีกแบบ หนึ่ง คือ นำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศบวกกับมูลค่าที่ประชาน หรือ ธุรกิจของประเทศนั้นๆ สามารถสร้างในต่างประเทศแล้วหักออกด้วยรายได้ ของชาวต่างชาติ


          
Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่นๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่นๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และ บริการ หรือ ทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงมากๆ 



ที่มา http://blog.spu.ac.th/print.php?id=3380

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการขาย (Selling Technique)



เทคนิคการขาย (Selling Technique) คือ วิธีการขายที่พนักงานขาย ใช้ความสามารถส่วนตัวหรือใช้ศิลปะในการชนะใจลูกค้า โดยให้ความรู้สึกว่าลูกค้านั้นมีความสำคัญต่อผู้ขายมาก ให้ความชื่นชม ให้ความนับถือและให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้าให้มากที่สุด พนักงานขายที่ประสบความสำเร็จในอาชีพขายมีวิธีการใช้เทคนิคแตกต่างกันเช่น
- ความสามารถในการจำชื่อลูกค้าได้แม่นยำแสดงให้เห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญและถือเป็นการให้เกียรติยกย่องด้วย
- ความสามารถในการเลือกคำพูดที่สั้นกะทัดรัด เหมาสะ เช่น ไม่รวยก็สวยได้จิ๋วแต่แจ๋ว ฯลฯ
- ให้ลูกค้าทดลองฟรี ซื้อไปแล้วไม่ชอบใจเอามาคืนหรือเปลี่ยนเป็นสินค้าชนิดอื่นได้เหมาะกับสินค้าออกใหม่
- ความสามารถในการทำให้ความฝันของลูกค้ากลายเป็นความจริงได้ เช่น อยากมีบ้าน อยากมีรถ ฯลฯ
- หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำให้เกิดภาพลบ เช่น
“ผมไม่แน่ใจว่า เรื่องนี้จะพอใจคุณหรือเปล่า”
“ผมคิดว่าคุณคงไม่ไปให้เจ้าอื่นเขาหลอกนะครับ”
“ถ้าคุณไม่คิดให้ลึกคุณคงไม่ซื้อของยี่ห้อนี้”
ฯลฯ
ขั้นตอนของเทคนิคการขาย
1. การแสวงหารายชื่อลูกค้าอนาคต (Prospecting) เทคนิคขั้นแรกนี้พนักงานขายต้องพยายามหารายชื่อลูกค้าอนาคตให้ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้
- วิธีโซ่ไม่มีปลายหรือวิธีการ “ปากต่อปาก” เหมาะกับสินค้าสัมผัสไม่ได้ หรือสินค้าพิเศษ เช่น การบริการของหมอ ยาบำรุง
- ใช้ศูนย์อิทธิพลหรือชมรม สมาคมที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน ฯลฯ
- วิธีการจัดแสดงสินค้า จะได้รายชื่อจากผู้เข้าชมงาน กรอกประวัติ ฯลฯ
- วิธีการสังเกตส่วนตัว โดยสังเกตจากลุ่มคนที่พนักงานขายร่วมสังสรรค์ หรือจากสื่อมวลชน จากสถานที่สำนักงานที่มีกลุ่มคนมากมาย ฯลฯ
ประโยชน์ของการแสวงหารายชื่อลูกค้าอนาคต
1) เป็นการประหยัดเวลาที่มีอยู่จำกัดในการเลือกลูกค้าอนาคตว่ามีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้ามากน้อยเพียงใด
2) เป็นการหาคำตอบว่าลูกค้าอนาคตต้องการสินค้าและบริการประเภทใด ลักษณะใด ที่จะมีประโยชน์ต่อลูกค้าอนาคตมากที่สุด
3) เป็นการกลั่นกรองลูกค้าอนาคตว่ามีฐานะหรือรายได้พอที่จะซื้อสินค้าและบริการได้มากน้อยเพียงใด
2. การเตรียมตัวก่อนเข้าพบ (Preapproach) หมายถึง การเตรียมความพร้อม
พนักงานขายในด้านจิตใจมุ่งมั่น พร้อมรับสถานการณ์ทุกรูปแบบอีกทั้งเตรียมตัวด้านร่างกายต้องแต่งตัวสุภาพ เรียบร้อยเหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกของตนเอง ที่สำคัญควรมีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของลูกค้าอนาคตตลอดจนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการสาธิตและต้องตรวจสอบให้รอบคอบก่อนออกเดินทางว่าเตรียมพร้อมทุกอย่างแล้วจริงหรือไม่
ประโยชน์ของการเตรียมตัวก่อนเข้าพบ
1) ช่วยกำหนดวิธีการเข้าพบลูกค้าอนาคตได้อย่างเหมาะสม
2) ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการที่จะเข้าพบลูกค้า
3) ช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น จำชื่อเล่นผิด
3. การเข้าพบ (Appoach) เป็นขั้นที่พนักงานขายต้องเผชิญหน้ากับลูกค้าเป็นขั้นที่มีความสำคัญมากที่จะกระตุ้นหรือจูงใจ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจและประทับใจเป็นครั้งแรก (Firstimpression) วิธีการเข้าพบลูกค้ามีเทคนิคและวิธีการหลายรูปแบบ ดังนี้
1) การเข้าพบด้วยการแนะนำตนเอง
2) การเข้าพบโดยอ้างถึงบุคคล
3) การเข้าพบโดยการยกย่อง
4) การเข้าพบโดยใช้สินค้านำเสนอ
5) การเข้าพบโดยให้ของตอบแทน
ประโยชน์ของการเข้าพบลูกค้าอนาคต
1) เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์และบุคลิกภาพของพนักงานขาย
2) เพื่อให้ลูกค้าประหยัดเวลาอันมีค่าของตนเองแทนการออกไปหาความรู้เอง
3) เพื่อสร้างความสนใจ ให้ข้อมูลสินค้าใหม่ ๆ
4) เพื่อให้พนักงานขายทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า
เป็นการนำเสนอสินค้าและบริการ โดยให้เห็นว่าสินค้าและบริการมีองค์ประกอบ และวิธีการใช้
การนำเสนอขายสินค้าแบ่งออกได้ดังนี้ คือ
1) การนำเสนอเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
2) การนำเสนอเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเข้าใจง่าย
3) การนำเสนอเอให้เกิดความสมบูรณ์
4) การนำเสนอเพื่อขจัดคู่แข่งขัน
5. การปฏิบัติต่อข้อโต้แย้ง (Heandling Objection) หมายถึง การขจัดปัญหาหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างพนักงานขายกับลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าที่กำลังเสนอขาย
เทคนิคในการปฏิบัติข้อโต้แย้งมีดังนี้
1) วิธีตอบปฏิเสธโดยตรง
2) วิธีตอบปฏิเสธทางอ้อม
3) วิธีตอบโต้การใช้คำถาม
4) วิธีอธิบายย้อนกลับ
6. การปิดการขาย (Closing the Sales) เป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจ
ซื้อสินค้าหรือมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง
เทคนิควิธีการปิดการขายมีดังนี้
1) การปิดการขายโดยการให้ของแถม
2) การปิดการขายโดยเสนอทางเลือกให้ตัดสินใจ
3) การปิดการขายโดยให้โอกาสสุดท้ายเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้า
ฯลฯ
7. การติดตามผลและบริการหลังการขาย (After Sales Activities) คือ การตรวจสอบว่าสินค้าที่ขายไปแล้สร้างความพอใจให้แก่ลูกค้ามากน้อยเพียงใด